งานวิจัยเรื่อง การออกแบบและพัฒนาสัญลักษณ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ผ่านรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมินี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (R&D)
มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1. ศึกษาอัตลักษณ์ในการพัฒนาของพื้นที่แต่ละสถานีรถไฟ
และ
2. เพื่อออกแบบและพัฒนาสัญลักษณ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว
โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-dept Interview) ซึ่งกำหนดกลุ่มประชากรในการเก็บข้อมูลเป็น ผู้อยู่อาศัยในชุมชนใกล้เคียงกับรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และกลุ่มนักท่องเที่ยวที่ใช้บริการรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จำนวน 8 สถานี รวมทั้งสิ้น 88 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
ผลการวิจัยพบว่า นิยามอัตลักษณ์ของสถานีพญาไทคือ “มรดกผ่านกาล” โดยมี พิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาดและคิง เพาเวอร์ คอมเพล็กซ์เป็นสถานที่โดดเด่น, นิยามอัตลักษณ์ของสถานีราชปรารภคือ “รสชาติชีวิตเมือง” โดยมี อาคารใบหยก 2 และอาคารพาลาเดียม ออฟฟิศ ทาวเวอร์เป็นสถานที่โดดเด่น, นิยามอัตลักษณ์ของสถานีมักกะสันคือ “ประตูเชื่อมนคร” โดยมี อาคารจี ทาวเวอร์ แกรนด์ รามา 9, ตลาดจ๊อดแฟร์ และหอนาฬิกา มศว เป็นสถานที่โดดเด่น, นิยามอัตลักษณ์ของสถานีรามคำแหงคือ “สีสันกีฬาสถาน” โดยมี สนามราชมังคลากีฬาสถาน, นาซ่า สตรีท และท่าเรือรามคำแหงเป็นสถานที่โดดเด่น, นิยามอัตลักษณ์ของสถานีหัวหมากคือ “มิติตะวันออก” โดยมี มัสยิดดาริสลาม และพิพิธภัณฑ์ปราสาท เป็นสถานที่โดดเด่น โดยมีจุดเด่นที่น่าสนใจ คือ รถไฟเชื่อมท่าอากาศยานฯ รถไฟชานเมือง และรถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง บรรจบกัน, นิยาม อัตลักษณ์ของสถานีบ้านทับช้างคือ “ส่องสุเหร่า” โดยมี สุเหร่าทับช้างล่าง และตลาดสถานีบ้านทับช้างเป็นสถานที่โดดเด่น, นิยามอัตลักษณ์ของสถานีลาดกระบังคือ “วิถีนิเวศน์” โดยมี สยาม เซอร์เพนทาเรียม, ถนนคนเดินลาดกระบัง และตลาดไม้หัวตะเข้เป็นสถานที่โดดเด่น และนิยามอัตลักษณ์ของสถานีสุวรรณภูมิคือ “การท่ามหานคร” โดยมีหอบังคับการบินและสนามปั่นจักรยานเจริญสุขมงคลจิตเป็นสถานที่โดดเด่น
ผลของการออกแบบและพัฒนาสัญลักษณ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว พบว่า สัญลักษณ์มีความเหมาะสมนำไปใช้งาน คิดเป็นร้อยละ 81.25 โดยเห็นด้วยกับความสอดคล้องของสัญลักษณ์กับพื้นที่ คิดเป็นร้อยละ 81.25 และมองว่า สัญลักษณ์ช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวได้ คิดเป็นร้อยละ 83.33
อ่านบทความวิจัยเพิ่มเติมได้ที่
https://bit.ly/4eYo2pX