ปี พ.ศ. 2565

บทความวิจัย เรื่อง "การออกแบบแอปพลิเคชันเพื่อการรับรู้ความเสี่ยงและแจ้งเตือน สำหรับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง"

บทความวิจัย เรื่องการออกแบบแอปพลิเคชันเพื่อการรับรู้ความเสี่ยงและแจ้งเตือน สำหรับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายของของการวิจัยเพื่อออกแบบแอปพลิเคชันเพื่อการรับรู้ความเสี่ยงและแจ้งเตือน สำหรับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ด้านคือ

1) ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง การรับรู้ และพฤติกรรมของผู้มีความเสี่ยง โดยดำเนินงานวิจัย ด้วยการวิเคราะห์บทความ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2) ศึกษาปัจจัยเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของครอบครัว สังคม และชุมชน เพื่อช่วยในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

3) ศึกษาปัจจัยเกี่ยวกับการใช้แอปพลิเคชันสื่อสังคมออนไลน์ โดยนำมาสร้างเป็นเครื่องมือในการวิจัย อันได้แก่แอปพลิเคชันเพื่อการรับรู้ความเสี่ยงและแจ้งเตือน สำหรับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เพื่อนำไปทำแบบประเมิน เพื่อสอบถามกลุ่มผู้มีความเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จำนวน 100 คน โดยแบ่งคำถามเพื่อตอบโจทย์วัตถุประสงค์การศึกษา ออกเป็น 3 ส่วนที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับ การรับรู้ความเสี่ยง และแจ้งเตือน ดังต่อไปนี้

ส่วนที่ 1) การแสดงข้อมูลแอปพลิเคชันเกี่ยวกับสุขภาพส่วนบุคคล ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยของการสามารถแสดงผลสรุปค่าดัชนีมวลกาย BMI และค่า Life Quality (การนอน, การดื่มน้ำ, การออกกำลังกาย, การสูบบุหรี่) เพื่อให้ผู้ใช้งานได้รับรู้ข้อมูลตลอดเวลาที่ใช้งานแอปพลิเคชัน มีค่าเฉลี่ยที่ 4.4 โดยมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 0.69 ถือว่าอยู่ในระดับดี, ค่าเฉลี่ยของการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์และแอปพลิเคชันทางด้านสุขภาพ เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ข้อมูล ในการแจ้งเตือนผู้ใช้งานเกี่ยวกับสุขภาพ มีค่าเฉลี่ยที่ 4.3 โดยมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 0.78 ถือว่าอยู่ในระดับดี และค่าเฉลี่ยของการวิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพย้อนหลังเปรียบเทียบ เพื่อให้ผู้ใช้งานได้มีข้อมูลสุขภาพอยู่กับตัวตลอดเวลา และนำข้อมูลนี้คอยแจ้งเตือน เพื่อให้ดูแลสุขภาพ มีค่าเฉลี่ยที่ 4.4 โดยมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 0.75 ถือว่าอยู่ในระดับดี

ส่วนที่ 2) การแสดงข้อมูลแอปพลิเคชันเกี่ยวกับสื่อสังคม (Social Media) ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยของการสามารถชวนคนที่รัก เพื่อน หรือคนในครอบครัว มาเป็นคนรู้ใจ (Mate) เพื่อช่วยกันแจ้งเตือน เพื่อดูแลสุขภาพกันได้ มีค่าเฉลี่ยที่ 4.2 โดยมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 0.79 ถือว่าอยู่ในระดับดี และ ค่าเฉลี่ยของการสามารถแบ่งปันข้อมูลสุขภาพส่วนบุคคลของตัวเอง ให้กับ Mate รับรู้ เพื่อช่วยให้เกิดการตั้งค่าให้แจ้งเตือนได้ เช่น การออกกำลังกาย การพักผ่อนให้เพียงพอ หรือการตักเตือน เมื่อมีการทำพฤติกรรมเสี่ยง เช่น ดื่มแอลกอฮอล์ หรือสูบบุหรี่ มีค่าเฉลี่ยที่ 4.3 โดยมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 0.79 ถือว่าอยู่ในระดับดี

ส่วนที่ 3) การแสดงข้อมูลแอปพลิเคชันเกี่ยวกับสินค้าเพื่อสุขภาพ (Market Place) ผลวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยของการสามารถได้รับส่วนลดพิเศษจากการสั่งซื้อผ่านแอปพลิเคชัน เมื่อมีการดูแลสุขภาพ มีค่าเฉลี่ยที่ 4.2 โดยมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 0.89 ถือว่าอยู่ในระดับดี

อ่านบทความวิจัยเพิ่มเติมได้ที่ 
https://bit.ly/3uHwTGO